กินข้าวกินปลาหรือยัง น่าจะเป็นวลีที่ใครหลายคนได้ยินจากผู้ใหญ่ ที่ต้องการถามว่ารับประทานอาหารแล้วหรือยัง แต่หารู้ไม่ว่าหากสืบข้อค้นจากข้อมูลกึ่งประวัติศาสตร์จะทำให้เราค้นพบได้ว่าวลีดังกล่าวนั้นมีที่มาที่ไปอย่างมีเหตุและผล กินข้าวกินปลาหรือยัง เป็นคำถามที่คนสมัยก่อนถามเรื่องการทานอาหาร ภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของประเทศไทยเป็นที่ราบลุ่ม ผู้คนมักสร้างที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำ และแม่น้ำคือสิ่งที่ล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยในอดีตจนมีวลีและสำนวนที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำมากมาย เช่น การนำน้ำจากแม่น้ำขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภค จนกลายเป็นวลีที่ว่า“อาบน้ำอาบท่าหรือยัง” การใช้แม่น้ำในการคมนาคม ก็จะทำให้เราได้ยินสำนวนไทยมากมาย อาทิ มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำ น้ำลดตอผุด ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำและไฮท์ไลท์สำคัญที่พูดวันนี้คือ การจับสัตว์น้ำในแม่น้ำขึ้นมารับประทาน นั่นจึงทำให้คนไทยในอดีตรับประทานปลาเป็นอาหารหลัก เพราะมีความสะดวกในการจับและกรรมวิธีการปรุงนั้นคือทุบหัว ขอดเกล็ดปลา ควักไส้ ล้างน้ำและโยนลงหม้อหรือนำไปย่างก็เป็นอันเสร็จสิ้น จนกลายเป็นวลีอย่างที่เกริ่นไว้ว่ากินข้าวกินปลาหรือยัง คำถามที่ตามมาคือ ถ้าคนไทยในอดีตรับประทานปลา จนการเป็นวลี แล้วคนไทยในอดีตไม่รับประทาน เนื้อวัว เนื้อหมู หรือเนื้อไก่ อย่างที่พวกเรารับประทานกันในปัจจุบันหรอ คำตอบคือ ในอดีตกรรมวิธีการทำอาหารของคนไทยในอดีต คือ ต้มกับย่าง โดยเนื้อวัว ไม่ค่อยเป็นที่นิยม การรับประทานเนื้อวัวจะเป็นลักษณะนานๆครั้ง และมักเป็นที่นิยมกับชาวไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่า เพราะแหล่งน้ำมีไม่มาก หากเป็นเนื้อไก่ ก็จะมีความนิยมมากกว่าโดยการนำมาย่าง แต่ก็เช่นกันที่คนไทยบริเวณภาคกลางจะไม่นิยมรับประทาน ชาวไทยบริเวณภาคอีสานจะนิยมมากกว่า ส่วนเนื้อหมู เป็นเนื้อสัตว์ของชาวจีนและทางตอนทางตอนใต้ของจีน ไล่ยาวมาถึงบริเวณภาคเหนือของไทย ซึ่งการเข้ามาของชาวจีนในไทย ทำให้เนื้อหมูกลายเป็นเนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจนถึงปัจจุบันนี้ […]